Back
มาสก คืออะไร


ข้าพเจ้าได้รับคำถามจากพระนวกะเมื่อพรรษาที่เพิ่งผ่านมาเกี่ยวกับคำว่า "มาสก" ในพระวินัยว่าด้วย อาบัติปาราชิกข้อ ๒ ที่ว่า "ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ได้ราคา ๕ มาสก ต้องปาราชิก" คือขาดจากความเป็นภิกษุทันที คำว่า "๕ มาสก" คือเป็นเงินไทยประมาณเท่าใด

เท่าที่ได้เคยศึกษากันมาก็ว่า "๕ มาสก" เท่ากับ "๑ บาท" ก็เลยคิดกันต่อไปว่า เพราะฉะนั้น ๑ มาสก ก็เท่ากับ ๒๐ สตางค์นั่นเอง

เรื่องนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวงทีเดียว อนึ่ง มีผู้เสนอว่าที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไว้ว่า "๕ มาสก เท่ากับ ๑ บาท" นั้นเป็นเวลาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว บัดนี้ค่าของเงินบาทลดลงกว่า ๑๐๐ เท่า เพราะฉะนั้น "๕ มาสก" ในปัจจุบันจึงน่าจะเทียบเท่ากับเงินกว่า "๑๐๐ บาท" หรืออาจจะถึง "๑,๐๐๐ บาท" ด้วยซ้ำไป

นี่ก็เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเช่นกัน ความจริงในเรื่องนี้ สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงอธิบายเรื่อง "มาตราชั่ง" และ "มาตรารูปิยะ" ไว้ในหนังสือ "วินัยมุข เล่ม ๑" ซึ่งเป็นหลักสูตรนักธรรม ชั้นตรี ดังนี้

"มาตราสำหรับใช้ชั่งของอื่นจากทองเงิน มีรูปดังนี้ :-

เมล็ดข้าวเปลือก
เป็น
กุญชา (กล่อม)
กุญชา
"
มาสก (กล่ำ)
มาสก
"
อักขะ
อักขะ
"
ธรณะ
๑๐ ธรณะ
"
ปะกะ
ฯลฯ

"มาตราสำหรับใช้ชั่งทองเงินอันมิใช่รูปิยะ มีรูปดังนี้ :-

เมล็ดข้าวเปลือก
เป็น
กุญชา
กุญชา
"
มาสก
มาสก
"
อักขะ
อักขะ
"
ธรณะ
ธรณะ
"
สุวัณณะ
สุวัณณะ
"
นิกขะ

เข้าใจว่า ทองเงินที่ทำเป็นลิ่ม กำหนดหนักนิกขะหนึ่ง ข้อนี้จึงทำให้ฉงนว่า นิกขะ ศัพท์นั้นเป็นชื่อน้ำหนักบ้าง แปลว่า ลิ่มบ้าง."

ในส่วนที่เกี่ยวกับ "มาตรารูปิยะ" นั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงอธิบายไว้ดังนี้

"นี้สำหรับกำหนดตีราคาสินค้า ใช้กหาปณะเป็นหลักมาตรา มีแต่วิธีกระจาย ไม่มีวิธีผนวก มีรูป ดังนี้ :-

มาสก
เป็น
บาท
บาท
"
กหาปณะ

พึงรู้อธิบายอย่างนี้ :-

"กหาปณะมีหลายอย่าง แต่กหาปณะในกรุงราชคฤห์ ครั้งทรงบัญญัติอทินนาทานสิกขาบทนั้น เรียก นีลกหาปณะ ในคัมภีร์ทั้งหลายกล่าวว่า ผสมทอง ๕ มาสก เงิน ๕ มาสก ทองแดง ๑๐ มาสก บ้างก็ว่าเจือเหล็ก ๑ เล็ดข้าว บ้างก็ไม่กล่าวถึง หลอมเข้าด้วยกัน ทำเป็นรูปแล้วตรีตรา พิจารณา ตามนัยนี้ เนื้อนีลกหาปณะนั้นเป็นนาก น้ำหนักเท่าธรณะหนึ่ง มาสกในมาตรานี้ ไม่เหมือนมาสกในมาตราชั่งของ เป็นแต่สักว่าชื่อติดมาแต่การกำหนดน้ำหนักแห่งรูปิยะ ในคัมภีร์วิภังค์กล่าวว่าทำด้วยโลหะก็มี ด้วยไม้ก็มี ด้วยครั่งก็มี ส่วนบาทนั้นไม่ปรากฏว่ามีรูปทำด้วยอะไร ทำด้วยนากอย่างเดียวกับกหาปณะ หรือทำด้วยของอย่างอื่น หรือคงมีรูปแต่กหาปณะกับมาสก รูปแห่งบาทไม่มี ยังไม่ได้ความกหาปณะนั้น ถ้าเป็นทองคำแท้ ก็คงเทียบราคากับน้ำหนักด้วยกันได้ แต่ที่เป็นนากพระอาจารย์ทั้งหลาย เมื่อเทียบมาตราทองคำ จึงลดเสียครึ่งหนึ่ง และกล่าวไว้ว่าบาทหนึ่งนั้น ให้เทียบทองคำหนัก ๒๐ เล็ดข้าวเปลือก โดยนัยนี้ ๔ เล็ดข้าวเปลือกต่อ ๑ มาสก ให้ลงสันนิษฐานว่า ครั้งรจนาคัมภีร์เหล่านั้น ราคาทองแพงกว่าราคานากเท่าตัว.

"แต่ข้าพเจ้ายังไม่แน่ใจว่า นีลกหาปณะทำด้วยนาก ยังไม่เคยรู้ว่าในประเทศไทย ครั้งโบราณก็ดี ในปัจจุบันก็ดี ได้ใช้นากทำเป็นรูปิยะ มีแต่ใช้ทองล้วน เงินล้วน ข้อที่ท่านให้เทียบด้วยราคาทองคำนั้น หลักแหลมอยู่ ถ้าเข้าใจว่า นีลกหาปณะเป็นทองคำบริสุทธิ์หนัก ๑๐ มาสก ซึ่งกระจายเป็น ๘๐ เล็ดข้าวเปลือก หรือรวมเข้าหนักกึ่งธรณะ จะเข้ารูปได้ดีทีเดียว จะต้องผสมเงินผสมทองแดงให้มีน้ำหนักขึ้นอีกเท่าหนึ่ง แต่เนื้อคลายลง เพื่อประโยชน์อะไร"

คำว่า "มาสก" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสกเป็น ๑ บาท." จาก บทนิยามนี้อาจทำให้ผู้เข้าใจผิดว่า "๕ มาสกเท่ากับ ๑ บาท ซึ่งมีค่า ๑๐๐ สตางค์" ความจริงหาได้หมายเช่นนั้นไม่ หากหมายถึง "๕ มาสก = ทองคำหนัก ๒๐ เล็ดข้าวเปลือก" ซึ่งก็ไม่ทราบว่าถ้าคิดเป็นมาตราวัดน้ำหนักแบบไทยจะหนักถึง "เฟื้อง" หนึ่ง หรือไม่ ไม่ทราบ.

จำนงค์ ทองประเสริฐ
๑๑ พฤศจิกายน๒๕๓๔
Back